สำนวนไทยที่เกิดจากการกระทำ

สำนวนไทยที่เกิดจากการกระทำ
1. ไกลปืนเที่ยง
ความหมาย ไม่รู้เรื่องอะไรเลย
ความเป็นมา “สมัยโบราณเราใช้กลองและฆ้องตีบอกเวลาทุ่มโมง กลางวันใช้ฆ้อง จึงเรียกว่าโมง” ตามเสียงฆ้อง กลางคืนใช้กลองจึงเรียก “ทุ่ม” ตามเสียงกลอง ตามพระนครมีหอกลองตั้งกลางเมือง สำหรับตีบอกเวลา มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ถึงรัชกาลที่ปี พ.. 2430มีการยิงปืนใหญ่ตอนกลางวันบอกเวลาเที่ยง ปืนเที่ยงนี้ยิงในพระนคร จึงได้ยิงกันแต่ประชาชนที่อยู่ในพระนครในบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ตั้งปืน ถ้าห่างออกไปมากก็จะไม่ได้ยิน ดังนั้นเกิดคำว่า ไกลปืนเที่ยง ซึ่งหมายความว่าอยู่ไกลปืนเที่ยง เป็นสำนวนใช้หมายความว่าไม่รู้ไม่ทราบเรื่องอะไรที่คนอื่นในพระนครเขารู้กัน เลยใช้ตลอดไปถึงว่าเป็นคนบ้านนอกคอกนา งุ่มง่าม ไม่ทันสมัยเหมือนชาวพระนคร
2. ข่มเขาโคให้กินหญ้า
                ความหมาย ใช้กับโค หมายถึงจับเขาโคกดลงให้กินหญ้าหรือบังคับให้กิน เอาใช้กับคนหมายความว่าบังคับขืนใจให้ทำ สำนวนนี้พูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า งัวไม่กินหญ้า อย่าข่มเขา
ตัวอย่าง
จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์               เหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า
กลัวเกลือกทั้งเจ็ดธิดา                                    มันจะไม่เสน่ห์ก็ไม่รู้
                                                                                                                สังข์ทอง พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
3. คนล้มอย่าข้าม
ความหมาย อย่าดูถูกคนที่ล้มเหลวในชีวิต
             ความเป็นมา สำนวนนี้มักมีคำต่ออีกว่า ไม้ล้มจึงข้าม แปลว่าคนดีที่ต้องตกต่ำยากจนหรือหมดอำนาจ เนื่องจากชีวิตผันแปรเปลี่ยนแปลงไป ไม่ควรจะลบหลู่ดูถูกเพราะคนดีอาจเฟื่องฟูอีกได้ ผิดกับที่ล้มแล้วข้ามได้
               4. คลื่นกระทบฝั่ง
                ความหมาย เรื่องสำคัญที่เกิดขึ้น ดูท่าทางจะเป็นเรื่องไปใหญ่โต แต่แล้วก็เงียบหายไปเฉยๆ เราพูดกันเป็นสำนวนว่า คลื่นกระทบฝั่ง หรือว่า คลื่นหายไปกับฝั่ง ก็ได้
อันคลื่นใหญ่ในมหาชลาสินธุ์ เข้าฝั่งสิ้นสาดเข้าไปที่ในฝั่ง
            
                                                                                                                    เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ
5. คลุกคลีตีโมง
                ความหมาย อยู่ร่วมกันคลุกคลีพัวพันไปด้วยกัน
ความเป็นมา คำว่า “ ตีโมง” หมายถึง ตีฆ้อง การเล่นของไทยในสมัยโบราณมักจะตีฆ้องกับกลองเป็นสิ่งสำคัญ เช่น โมงครุม ระเบ็ง ฯลฯ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในบุณโณวาทคำฉันท์ว่า “โมงครุ่มคณาชายกลเพศพึงแสยง ทับทรวงสริ้นแผง ก็ตะกูลตะโกดำ เทริดใส่บ่ ใคร่ยล ก็ละลนละลานทำ กุมสีทวารำศรับ บทร้องดำเนินวง ”
                ตัวอย่าง
                                “สรวมเทริดโมงครุ่มแพร้ว               ทองพราย พร่างนอ
                ทายเทอดสรประลอง                                          หน่วงน้าว
                คนฆ้องเฆาะฆ้องราย                                         โหมงโหม่ง โม่งแฮ
                กาลเทรดขรรค์ข้องท้าว                                      นกยูง
                                                                                                                โคลงแห่โสกัญต์
6. ควักกระเป๋า
ความหมาย ต้องเสียเงิน ต้องจ่ายเงินจะเป็นเงินจากกระเป๋าเราเอง หรือจากกระเป๋าคนอื่นก็ได้ ไว้ได้ทั้งสองทาง
ความเป็นมา การหยิบเงินออกจากประเป๋า
ตัวอย่าง
                                “การใช้ฝรั่งจึงเป็นการสะดวก เพราะใช่แต่ว่าเขาได้ช่วยให้เราไม่ต้องทำงานด้วยกำลัง ทั้งเขายังได้ปลดเปลื้องความลำบากของเราในการที่ต้องคิดอีกด้วย เราเป็นแต่ควักกระเป๋าฝรั่งเขาจัดการเสร็จ
                                โคลงติดล้อของอัศวพาหุ
                “ วิธีที่จะเรี่ยไรให้ได้เงินมากต้องให้ออกกันตามมีตามจน ซึ่งแปลว่าจะควักกระเป๋าคนมั่งมีได้ และยกเว้นไม่ต้องควักกระเป๋าคนจน
เรื่องที่เสียของครูเทพ

ความเป็นมา สมัยโบราณเราทำนาเป็นอาชีพสำคัญ การทำนานั้นตามธรรมดานั้น ต้องทำบนพื้นดินนั้น ใครมีอาชีพหาประโยชน์ โดยอาศัยเบียดเบียนเอาผลจากน้ำพักน้ำแรงจึงเอาการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพสำคัญมาเปรียบเท่ากับว่าไม่ได้หากินบนพื้นที่นาเหมือนที่คนทั้งหลายทำกัน แต่ว่าเป็นการหากินบนหลังคนพูดเป็นสำนวนว่า “ทำนาบนหลังคน” เช่นซื้อข้าวจากชาวนาด้วยราคาถูกแล้วมาขายเอากำไรแพง หรือให้กู้เงินเอาดอกเบี้ยแพง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น